วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปลานีออน



ลักษณะทั่วไปของปลานีออน

              ปลานีออน จัดเป็นปลาสวยงามขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาสวยงามชนิดอื่น ๆ มีสีสันที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ได้พบเห็น บนลำตัวมีสีน้ำเงินอมเทา  ตรงแนวสันหลังสีเขียวอ่อน และมีสีฟ้าเชื่อมติดระหว่างโคนหาง  ส่วนโคนครีบหาง และครีบอกมีสีแดงพาดอยู่ ลำตัวเจริญเติบโตเต็มที่วัดได้ 1.5  นิ้ว     มีอุปนิสัยรักสงบ ชอบว่ายน้ำเล่นอยู่ตลอดเวลาไม่อยู่นิ่งกับที่ อาศัยอยู่บริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ ปลาชนิดนี้ชอบเกาะกลุ่มรวมกันเป็นฝูง ๆ กินอาหารได้ทุกชนิด  จึงไม่มีปัญหาในเรื่องอาหาร

การเพาะพันธุ์ปลานีออน

การคัดพ่อแม่พันธุ์

                  การคัดพ่อแม่พันธุ์สังเกตได้จาก ปลาตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่ อ้วนกลมกว่าบริเวณส่วนท้องของปลาตัวเมียเต่งขยายออก การเคลื่อนไหวเชื่องช้า  สีคมชัดกว่า สำหรับตัวผู้ลำตัวยาวเรียวกว่า และมักไล่ต้อนตัวเมียเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์

                  ตามธรรมชาติปลานีออนเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ค่อนข้างยาก ฉะนั้นผู้เพาะเลี้ยงจึงต้องใช้เทคนิค และวิธีการบางอย่างเข้าช่วย เพื่อกระตุ้นการผสมพันธุ์ในการวางไข่ให้เร็วขึ้น การเพาะพันธุ์ปลานีออนจะประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการและเทคนิคดังนี้
              การเตรียมอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์

              อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการเพาะพันธุ์  เช่น ตู้เพาะเลี้ยง ฝาปิดตู้ปลา และพันธุ์ไม้น้ำ ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคให้สะอาดเสียก่อน ด้วยการแช่น้ำเกลือหรือด่างทับทิม โดยเฉพาะตู้เพาะพันธุ์ และฝาตู้ปลาควรแช่ได้นาน 1-2 วัน ต่อจากนั้นเช็ดให้แห้ง สำหรับพันธุ์ไม้น้ำก็เช่นกัน แต่ความเข้มข้นต้องเจือจางกว่า การฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

              ตู้เพาะพันธุ์

              ตู้สำหรับที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลานีออนควรมีขนาดที่พอเหมาะ คือ ขนาดของตู้ปลาควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่อนข้างแบนจุน้ำได้ 80 ลิตร  ปริมาณน้ำที่เติมลงไปประมาณ 60 ลิตร ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค และปลูกพันธุ์ไม้น้ำไว้บริเวณด้านข้างของตู้ปลาด้านใดด้านหนึ่ง  หรือใช้กิ่งไม้แทนหิน กรวด ทราย เนื่องจากกิ่งไม้เป็นที่วางไข่จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัวอ่อน บริเวณที่ตั้งตู้ปลาควรเป็นสภาพที่เงียบไม่มีคนพลุกพล่าน ทางที่ดีควรเลือกตั้งตรงบริเวณที่ได้รับแสงแดดยามเช้า อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่พันธุ์ไม้น้ำ และไข่ หรือตัวอ่อนที่กำลังเติบโตต่อไป ก่อนการตั้งตู้ควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากเมื่อตั้งตู้ปลาแล้วเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายตู้ปลาได้อีก

สภาพน้ำ

การเพาะพันธุ์ปลานีออน น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าน้ำที่ไม่สะอาดมาทำการเพาะพันธุ์ทำให้เกิดผลเสียหาย บางท่านนำน้ำกลั่นมาเพาะเลี้ยงแล้วใช้แอร์ปั๊มเข้าช่วยเพื่อเพิ่มออกซิเจนเหตุผลนี้เป็นการเข้าใจผิด เพราะน้ำกลั่นโดยทั่วไปมีสภาพเป็นกรด ถ้าใช้น้ำประปาควรปล่อยทิ้งไว้สัก 2-3 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปแล้วนำมาใช้เพาะพันธุ์ ผู้เพาะเลี้ยงควรปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์ และการวางไข่ปลานีออน โดยเฉพาะคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างควรอยู่ในระหว่าง 6.2-6.8 และระดับอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ย 23-24 องศาเซลเซียส

                  เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ตามความต้องการแล้ว ก่อนปล่อยควรทำการฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับตัวปลาด้วยการใช้ด่างทับทิมหรือเกลือผสมกับน้ำให้มีความเจือจางแช่ไว้ประมาณ 24 ชม.  จากนั้นก็นำพ่อแม่พันธุ์ลงปล่อยในตู้ปลาที่เพาะเลี้ยงการให้อาหารในช่วงนี้สำคัญ เพราะอาจทำให้น้ำในตู้เน่าเสียได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมอาหารเป็นพิเศษ ทางที่ดีควรให้อาหารประเภท ลูกน้ำ ไรแดง  อาร์ทีเมีย สภาพน้ำในตู้ควรฆ่าเชื้อด้วยเกลือหรือยาปฏิชีวนะ เช่น คอแรมเฟนิคอล  ฯลฯ.

การวางไข่

                        เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไว้ในตู้เพาะเลี้ยง 2-3 วัน สังเกตเห็นตัวผู้ว่ายไล่ต้อนตัวเมีย ซึ่งทำให้ตัวเมียหนีเข้าไปอยู่ในพันธุ์ไม้น้ำ เมื่อสภาพสมบูรณ์เต็มที่ตัวเมียวางไข่ในตอนใกล้รุ่งของวันใหม่ ส่วนตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฟักเป็นตัวภายใน 2-3 วัน จากนั้นจึงนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากตู้แล้วปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแสงสว่าง

การอนุบาลลูกปลา

            หลังจากที่ลูกปลานีออนเจริญเติบโตสามารถว่ายน้ำได้ ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพราะลูกปลาได้รับอาหารจากถุงไข่แดง ต่อจากนั้นให้ลูกไรแดงจนลูกปลาโตพอที่กินอาหารชิ้นใหญ่ ๆ  ได้แล้ว คือ มีอายุประมาณ 1 เดือน ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารจากไรแดงเป็นเนื้อกุ้งสับให้ละเอียด ต่อมาเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ลูกปลาเริ่มปรากฏลวดลายสีสันออกมาให้เห็นชัด และเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน สีประจำตัว คือ สีฟ้าเปล่งประกายเข้มเหมือนกับ พ่อแม่พันธุ์ทุกประการ

เทคนิคการเลี้ยงปลานีออน

                  การเพาะเลี้ยงปลานีออนบางท่านยังไม่เข้าใจในชีวิตธรรมชาติของปลาประเภทนี้มากนักจึงคิดว่าปลานีออนเป็นปลาที่เลี้ยงยาก แต่ถ้าผู้เพาะเลี้ยงได้ศึกษาลักษณะนิสัยของปลานี้แล้วรู้ได้ว่าการเลี้ยงปลานีออนได้ง่ายดังเช่นการเคลื่อนย้ายปลา
                  ปลานีออนเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษ คือ  ระบบทุกส่วนไวต่อการสัมผัสของระบบประสาท ผู้เพาะเลี้ยงจึงสมควรที่ต้องรู้วิธีการ และเคล็ดลับการเคลื่อนย้ายปลานีออนเพื่อป้องกันการบอบช้ำ การซื้อปลามาเลี้ยงไม่ควรใช้กระชอนตักปลาขึ้นมาเหนือผิวน้ำ เนื่องจากปลานีออนมีขนาดเล็กความบอบช้ำมีมาก และเกิดโรคบางชนิดขึ้นได้ง่าย  ทางที่ดีแล้วควรใช้ขันหรือจากตักให้มีน้ำอยู่ด้วย  แล้วเทลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถุงพลาสติก  ถังน้ำ  ฯลฯ วิธีการปล่อยปลานีออนลงเลี้ยงถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เพาะเลี้ยงต้องเตรียมสภาพน้ำให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นกรดเป็นด่างควรมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 6.2 - 6.8 สำหรับระดับอุณหภูมิของน้ำภายในตู้เลี้ยงให้อยู่ประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮน์ และก่อนปล่อยปลาจำเป็นต้องใส่ยาปฏิชีวนะ  จำพวกคลอแรมเฟนิคลอ แอมพิซิลิน หรือใส่เกลือแกงลงไปด้วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคบางชนิด ต่อมาให้นำถุงพลาสติกที่ใส่บรรจุปลานีออนอยู่ภายในแช่ลงในตู้ปลาประมาณ 10-20 นาที เพื่อให้ปลานีออนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาได้เป็นอย่างดี

ระบบนิเวศภายในตู้

                  การปลูกพันธุ์ไม้น้ำ และใส่วัสดุต่าง ๆ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของปลา นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้แก่ตู้ปลาดูเป็นไปแบบตามธรรมชาติจริง ๆ

การเลี้ยงปลานีออนให้มีลักษณะเด่น

                  ผู้เลี้ยงควรปล่อยปลาอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ และบริเวณฝาปิดหรือหลังตู้ควรปิดทับด้วยวัสดุบางอย่างที่ทำให้เกิดความมืด เวลามองดูตัวปลาสีสันจะได้สะท้อนสดใสสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น และผู้เลี้ยง

โรคที่สำคัญ

                  ตามธรรมดาแล้วการเลี้ยงปลานีออนในภาชนะที่จำกัดมักไม่ค่อยปรากฏเรื่องโรคให้เห็น  ทั้งนี้ก็เพราะว่า ผู้เลี้ยงให้ความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงมากขึ้น จึงทำให้โรคต่าง ๆ ที่เข้ามาเบียดเบียนมีน้อยนัก  แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีเกิดขึ้นบ้าง  สำหรับโรคที่พบในปลานีออน คือ โรคจุดขาว สาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนน้ำที่ใช้เลี้ยงอย่างกะทันหัน ซึ่งระดับอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปทำให้ปลาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ฉะนั้นผู้เลี้ยงต้องให้ความระมัดระวังในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ในช่วงระยะ 2-3  วันแรก ที่ปล่อยลงตู้เลี้ยงไม่ค่อยตาย แต่เพื่อป้องกันการสูญเสียผู้เพาะเลี้ยงควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดระดับอุณหภูมิตลอดระยะเวลาที่ปลาเริ่มแสดงอาการผิดปกติ

ปลาหมอสี



การเลี้ยงดู

ปลาหมอสี เป็น ปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไรทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาดเล็ก ไส้เดือน หรือ อาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลามีสีสันเด่นชัดก็อาจให้ อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะนำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สามารถ เร่งสีปลาหมอสี ได้ดีที่สุดในจำนวน อาหารปลาหมอสี ทั้งหมด

ปลาหมอสีที่เลี้ยงด้วยไรน้ำนางฟ้า
การเลี้ยงปลาหมอสี เป็น ปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณอาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้น การเลี้ยงปลาหมอสี หลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของปลาด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา(ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ
การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กินและนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลายแบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากินและปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้าเป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็นเพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมียยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ

การเลี้ยงปลาหมอสี ( ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับ นักเลี้ยงปลา หมอสี มือใหม่ )
1.นิสัยของ ปลาหมอสี เมื่อเรารู้นิสัยของ ปลาหมอสี แล้วเราต้องรูด้วยว่า ปลาหมอสี กินอะไรปลาหมอสที่โตแล้วจะ กินหนอนนก หรืออาหาร ปลาหมอสีโ ดยเฉพาะเม็ดใหญ่ ปลาหมอสี ตัวเล็กก็เริ่มจากการ กินหนอนแดง ก่อนแล้วถ้าโตจนสามารถ กินหนอนนก ได้ก็เอาหนอนนกให้มันกินจะเสริมด้วยกุ้งก็ได้ เพราะโปรตีนจากกุ้งแล้วหนอนนก หนอนแดงนั้นจะทำให้ปลาหมอสีโตเร็วและยังเป็นการทำให้ปลาหมอสี มี โหนกใหญ่

2.ตู้ปลา สำหรับ เลี้ยงปลา ตู้ที่จะเลี้ยงปลา ที่ไม่ใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป ติดเครื่องอุณหภูมิ ให้ปลาเพื่อปรับอุณหภูมิให้ปลา ติดเครื่องกรองน้ำให้ปลามีให้น้ำขุ่นจนเกินไป ใส่หินให้ปลาเพราะปลาหมอสีจะชอบเล่นออมหิน แล้วการติดไฟให้ปลา การติดไฟให้ปลานั้นจะต้องเป็นไฟสีชมพู เป็นไฟสำหรับ ปลาหมอสี โดยเฉพาะ เพราะถ้าเรานำ ไฟที่ไม่ใช่ไฟใส่ปลามาใส่จะทำให้ ปลาหมอสี ตาบอด ได้ จึงแนะนำ ไฟจัดตู้ปลา ที่ เป็น ไฟเฉพาะ สำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี เท่านั้น

การดูแล และ ควรพึงปฏิบัติ กับภาระกิจ เลี้ยงปลาหมอสี อ่านสักนิด ก่อนคิด จะเลี้ยง เจ้าหมอสี (รัก และ เอาใจใส่ หนึ่งชีวิต ใน กำมือ ของคุณ )
หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ
1. น้ำสำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี นั้น น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
2. ใช้ เครื่องกรองน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
3. ขนาดของตู้เลี้ยงปลาหมอสี ควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวก หมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
4. อาหารปลาหมอสี กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มี ลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
5. ก้อนหิน ก้อนกรวด ที่จัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลง ก่อน จัดลงตู้
6. ตู้ปลาหมอสี ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำใน ตู้ปลา ได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะ เปลี่ยนน้ำตู้ปลา บริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ

ling ปลาหมอสี

ปลาเสือสุมาตรา


 
ปลาเสือสุมาตรา
 
ปลาเสือสุมาตรา จัดเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ขี้ตกใจ ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาที่มีหางสวยได้ ก่อนอื่นใดการที่ท่านจะทำการเลี้ยงปลาแต่ละชนิด ท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่านควรจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปลาที่ท่านอยากจะเลี้ยงก่อนว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร การเลี้ยงจึงจะไปได้สวย

ถิ่นอาศัย ปลาเสือสุมาตรามีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยจะพบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนใหญ่ปลาเสือสุมาตราจะอยู่แหล่งน้ำไหล อ่างเก็บน้ำ น้ำตกหรือบึงน้ำ เป็นต้น

ลักษณะ ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาในตระลปลาตะเพียนขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสวยงาม ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวและแบนข้าง ปลาเสือสุมาตรามีอยู่หลายชนิดเช่น เสือสุมาตราลายเสือ เสือสุมาตราลายเสือแก้มแดง เสือสุมาตราเขียว เป็นต้น โดยทั่วไปปลาเสือสุมาตราจะมีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบคือ สองแถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่สามพาดผ่านโคนครีบหลังและสันครีบ แถบที่สี่พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ห้าอยู่โคนหางครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่

อุปนิสัย ปลาเสือสุมาตราไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดเล็กกว่าหรืออ่อนแอกว่า ปลาเสือสุมาตราจะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงไม่ต่ำกว่า 10 ตัว มีนิสัยดุ ขี้ตกใจ ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาที่มีครีบและหางสวยเช่น ปลาหางนกยูง เพราะปลาเสือสุมาตราจะกัดครีบและหางของปลาชนิดอื่น ๆ จนขาดวิ่นไปหมด ตามนิสัยของปลาขี้อิจฉา ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีนิสัยปราดเปรียว ไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ ดังนั้นจึงชอบน้ำในตู้ปลาที่ค่อนข้างมีความเคลื่อนไหวและใสสะอาด ชอบแสงสว่างที่เจิดจ้าเป็นพิเศษ เมื่อโตเต็มที่แล้วปลาเสือสุมาตราจะมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะมีขนาดประมาณ 3.0-3.7 เซนติเมตร

การเพาะขยายพันธุ์ ก่อนอื่นจะต้องทำการเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยตัวผู้จะมีสีสันสดสวย ปากแดง หางแดง ครีบแดง ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่า แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่า ขนาดของปลาที่พร้อมจะนำมาผสมพันธุ์จะมีขนาดประมาณ 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว นำพ่อปลาและแม่ปลามาขุนในบ่อประมาณครึ่งเดือนโดยให้อาหารที่เป็นลูกน้ำหรือหนอนแดง ถ้าหากไม่มีก็สามารถใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบแทนได้ เมื่อครบกำหนดเวลาพ่อแม่ปลาก็จะอ้วนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นให้นำพ่อ-แม่ปลาแยกเป็นคู่ไว้ในบ่อปูน ใส่น้ำลึกประมาณ 30 เซนติเมตร นำตะกร้าพลาสติกขนาดประมาณ 10-12 นิ้ว ทำเป็นคอกสำหรับปลา 1 คู่พร้อมกันนั้นจึงสร้างสาหร่ายเทียมให้ปลาวางไข่ สาหร่ายเทียมอาจจะทำมาจากเชือกฟางที่ฉีกเป็นฝอย ๆ นำไปมัดไว้กับก้อนหินถ่วงให้จม เท่านี้ปลาก็จะมีที่วางไข่แล้ว การเพาะปลาเสือสุมาตรามีเทคนิคอยู่ว่า เมื่อเตรียมตะกร้าและสาหร่ายสำหรับวางไข่เรียบร้อยแล้วให้นำพ่อ-แม่ปลาใส่ลงไปตอน 5 โมงเย็น พอประมาณ 3 โมงเช้าก็ให้จับพ่อ-แม่ปลาออก ตอนนี้เราก็จะเห็นไข่เกาะอยู่ตามเชือกฟาง ทิ้งไว้ 2 วันไข่ก็จะฟักออกเป็นตัวแล้วจึงค่อยยกตะกร้าออก ปลาเสือสุมาตราจะวางไข่ครั้งละ 300-400 ฟอง ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส ในช่วงสองวันหลังจากฟักเป็นตัวแล้วยังไม่ต้องให้อาหาร รอให้ผ่านวันที่สี่จึงเริ่มให้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียดละลายกับน้ำ ให้อาหารวันละ 4 ครั้ง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของลูกปลา ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เมื่อครบ 3 วันก็จะเริ่มเปลี่ยนมาให้ลูกไร และเมื่อครบ 1 เดือนก็จะเริ่มให้อาหารเม็ด

อาหาร ปลาเสือสุมาตราชอบกินตัวหนอน ลูกกุ้งตัวเล็ก ๆ ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำและเศษซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อย ตลอดจนอาหารสำเร็จรูป

ปลานกแก้วเลิฟ



ปลานกแก้ว

ปลานกแก้ว (Parrotfishes) อยู่ในครอบครัว Scaridae โตเต็มที่มีขาดประมาณ 30-70 ซ.ม. อาศัยอยู่ตามแนวปะการังพบได้ในทะเลอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่พบในประเทศมีมากกว่า20สายพันธุ์ กินฟองน้ำปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ
ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้ายๆจะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ เวลานอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่างๆรวมทั้งพวกหนอนพยาธิปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน
ปลานกแก้ว เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม คนบ้างกลุ่มนิยม นำไปเลี้ยงคุ่กับเจ้าอโรวาน่า ปลานกแก้เลิฟ หางจะย่น หาซื้อเลี้ยงได้ไม่ยาก ราคาต่ำ ดูแลง่าย


ling ปลานกแก้ว

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555



อาหารของปลามังกรที่ผู้เลี้ยงนิยมให้มี 4 อย่างก็คือ กุ้งฝอย หนอนนก จิ้งหรีด และลูกปลาเล็ก แต่จริงๆ แล้วปลาชนิดนี้สามารถกินอาหารได้หลายอย่างโดยแบ่งออกหมวดหมู่ได้ 7 ชนิดดังต่อไปนี้..

1. แมลง มีหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น จิ้งหรีด หนอนนก แมลงสาบ ตั๊กแตน การให้อาหารประเภทแมลงมีข้อดีคือปลาชอบกิน ย่อยง่าย และแมลงส่วนใหญ่จะลอยน้ำทำให้ปลากินง่ายไม่ต้องว่ายหาหรือไล่ล่าในตู้ แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกันก็คือของเสียจากปลาจะมี “เปลือก” ออกมาด้วยเช่นเปลือกหนอน ปีกจิ้งหรีด และส่วนอื่นๆ ซึ่งเศษของเสียพวกนี้จะลอยน้ำแล้วเกาะตัวเป็นคราบ หากไม่มีการขัดถูตู้เป็นประจำปล่อยไว้นานเข้าเปลือกเหล่านี้จะฝังตัวแน่นเข้ากับตู้ทำให้ตู้สกปรกไม่น่ามอง ในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมีหนอนนกและจิ้งหรีดขายเป็นประจำโดยราคาของหนอนนกจะอยู่ที่ประมาณขีดละ 10-30 บาท ส่วนจิ้งหรีดก็จะขายเป็นถุงๆ ละ 30-50 บาท

2. สัตว์เล็ก เช่น ไรทะเล กุ้งฝอย และลูกกบ ในส่วนของ “กุ้งฝอย” หากฝึกให้ปลากินได้เป็นประจำก็จะเป็นผลดีทำให้ปลามีสีสันที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลามังกรแดง ส่วน “ลูกกบ” ปลาบางตัวก็ชอบ บางตัวก็ไม่ชอบนะครับ ส่วนใหญ่แล้วลูกกบมักจะเป็นเหยื่อที่ปลากินได้ไม่นาน กินไม่ประจำ แรกๆ อาจจะชอบแต่พอซักพักก็จะเริ่มเบื่อและกินน้อยลง ลูกกบเป็นเหยื่อปลาที่ค่อนข้างมีราคาสูงคือขายกันที่ตัวนึงประมาณ 2-5 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนการซื้อ)

3. ลูกปลา นอกจากพวกแมลงและสัตว์เล็กแล้วก็ยังมีพวกปลาเล็กๆ อีกด้วย เช่น ปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลานิล ปลาทอง การให้อาหารประเภทลูกปลามีข้อดีคือปลาโตเร็ว สีสันสวยงาม และกระตือรือร้นสม่ำเสมอเนื่องจากได้ไล่ล่าลูกปลาเป็นประจำ แต่การให้ปลาเหยื่อเป็นอาหารก็มีข้อเสียเช่นกันคือ ปลาบางตัวอาจมีโรคติดมาและเมื่อปลามังกรกินเข้าไปแล้วก็มีอาจผลให้ได้รับเชื้อนั้นด้วย อีกเรื่องคือ “ปรสิต” ที่ติดมาไม่ว่าจะเป็นเห็บ หรือ หนอนสมอ (หากหลีกเลี่ยงจากการใช้เหยื่อประเภทนี้ไม่ได้ผมแนะนำให้ล้างลูกปลาเหล่านี้ด้วย “น้ำผสมด่างทับทิม” จางๆ ซักรอบและล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนใช้อีกครั้งเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดปรสิต การผสมด่างทับทิมเข้มข้นเกินไปมีผลทำให้ลูกปลาตายอย่าลืมระวังที่จุดนี้ด้วยนะครับ)

4. สัตว์เลื่อยคลาน อย่างเช่น จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งกือ… จริงๆ แล้วสัตว์เลื้อยคลานพวกนี้ปลามังกรชอบกินมากแต่ติดตรงที่ว่าหายากมีไม่มากนัก ไม่มีขายตามท้องตลาดใครที่คิดจะให้ก็ต้องขยันจับกันหน่อย ผมเคยได้ยินว่าการให้เหยื่อพวกนี้แล้วสีปลาจะดีขึ้น แต่จากที่ทดลองแล้วผลปรากฏว่าไม่ได้มีผลเรื่องสีมากนัก จากที่ไม่แดงก็ไม่ได้แดงขึ้นเท่าไหร่ ส่วนตัวที่แดงอยู่แล้วก็คงเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง สำหรับ “กิ้งกือ” ผมไม่แนะนำให้ใช้เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่ามีพิษ หากให้ปลากินเป็นประจำอาจมีผลร้ายในระยะยาวได้

5. เนื้อสัตว์ ที่นิยมให้ก็มีหลายชนิดเช่น เนื้อกุ้ง เนื้อปลา เนื้อหมู หรือเนื้อชนิดอื่นๆ เหยื่อปลาชนิดนี้ผมแนะนำให้ล้างให้สะอาดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไข่พยาธิหรือสิ่งสกปรกชนิดอื่นๆ หลงเหลืออยู่ แล้วในการให้จริงก็ควรตัดชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ จะได้กินง่ายกลืนสบายๆ... จริงๆ แล้วเนื้อสัตว์พวกนี้ไม่ค่อยเหมาะกับระบบการย่อยปลามังกรนัก (ยกเว้นเนื้อกุ้งและเนื้อปลา) การให้กินเป็นประจำอาจมีผลทำให้ระบบขับถ่ายไม่ดี อันจะเป็นที่มาของโรค “ริดสีดวง” ได้

6. อาหารเม็ด ข้อดีของอาหารเม็ดก็คือมีสารอาหารที่จำเป็นและวิตามินครบถ้วนซึ่งช่วยในการช่วยเพิ่มสีสันและความสมบูรณ์ให้กับตัวปลา ในท้องตลาดบ้านเรามีหลายยี่ห้ออย่างเช่นของ Hikari, Tetra และ Azoo โดยที่อาหารเม็ดเหล่านี้ถูกทำมาเพื่อสำหรับปลามังกรโดยเฉพาะ มีการแต่งกลิ่นและรูปทรงให้ดูเหมือนเป็นกุ้งหรือลูกปลาตัวเล็กๆ ทำให้ปลาสนใจมากขึ้น แต่ปกติแล้วผู้เลี้ยงปลามังกรมักไม่ค่อยให้กินอาการเม็ดกันนั่นไม่ใช่เพราะแพงหรือหาซื้อยากอะไรนะครับ แต่เพราะปลาไม่ค่อยกิน กินน้อย หรือกินได้ไม่นานแค่ระยะหนึ่งก็เลิก
แต่สำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่ที่ไม่ต้องการทำบาปก็มักจะฝึกเลี้ยงเจ้ามังกรน้อยด้วยอาหารเม็ดเหล่านี้ ใหม่ๆ อาจจะฝึกได้ยากหน่อย แต่เมื่อปลาหิวมากๆ ก็จะค่อยๆ ยอมรับอาหารเม็ดเอง (จะฝึกปลาให้กินอาหารเม็ดต้องใจแข็งหน่อยเพราะช่วงแรกปลาอาจไม่ยอมรับเลย ไม่กิน ไม่แตะต้อง กินแล้วอมๆ เคี้ยวๆ แล้วก็บ้วนออก) ในช่วงการฝึกช่วงแรกๆ ให้ใช้วิธีผสมไปก่อนคือให้ทั้งเหยื่อปลาปกติและอาหารเม็ด เพื่อกันปลาหิวจัดและซึมหรือพาลไม่กินอะไรอีกเลย เมื่อปลาหรับตัวกับอาหารเม็ดได้แล้วจึงให้ค่อยให้อาหารเม็ดกินอย่างเดียว วิธีนี้สามารถใช้ในการฝึกให้ปลากินอาหารใหม่ชนิดอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน

7. เมนูพิเศษ ปัจจุบันในท้องตลาดมีสัตว์แปลกๆ มาขายเพื่อเป็นเหยื่อให้กับปลามังกรอย่างเช่น แมงป่อง ตะขาบ หนอนยักษ์และลูกตะพาบน้ำ ทั้ง 4 อย่างนี้ถือเป็นเมนูพิเศษที่ไม่ค่อยจะเหมาะนักกับปลามังกรแต่ว่ามันก็ชอบกินมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ชนิดแรกที่เชื่อกันว่าจะทำให้ปลามีสีสันดี สวยงาม เพราะมีสารเร่งสีตัวนั้นนี้ แต่จริงๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่ การเสนอขายเหยื่อแต่ละอย่างก็ราคาสูงมากอย่างเช่นตะขาบตัวนึงตกอยู่ที่ 50-80 บาท (ตัดเขี้ยวแล้ว) แมงป่องก็ 15-20 บาท หนอนยักษ์ (คล้ายๆ หนอนนกแต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 10-20 เท่า) ราคาตัวละ 4 บาท ส่วนลูกตะพาบก็ตัวละประมาณ 5 บาท... เมนูพิเศษที่ว่านี้เหมาะสำหรับปลาใหญ่ที่มีขนาดตั้งแต่ 1 ฟุตขึ้นไปนะครับ ในปลาเล็กไม่แนะให้ใช้ เหยื่อปลาชนิดนี้ผมถือเป็น “มื้อโอชา” ที่ให้นานๆ ทีดีกว่าครับ

ในการให้อาหารก็ไม่ควรให้มากเกินไป ให้อย่างพอเหมาะเพื่อป้องการ “โรคอ้วน” นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้น้ำเสียง่ายอีกด้วย และไม่ควรให้อาหารเผื่อทิ้งไว้ไม่ว่าอาหารเป็นอย่างกุ้งฝอยหรือลูกปลา และอาหารเม็ดลอยน้ำเพราะจะทำให้ปลาได้กินอิ่มอยู่เสมอ จุดนี้จะทำให้ปลาขาดความคึกคัก กระตือรื้อร้น เพราะไม่เคยรู้สึกหิว อิ่มตลอด มีให้กินเสมอ การให้อาหารในปลาเล็ก (ก่อน 1 ฟุต) ควรให้วันละ 2 มื้อ ส่วนปลาใหญ่ให้เพียงวันละ 1 มื้อก็พอ สำหรับลูกปลาขนาดเล็ก ๆ ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ไม่ควรที่จะเลี้ยงด้วยกุ้ง หรือพวกเนื้อ เพราะจะทำให้ติดคอ ท้องอืด อาหารไม่ย่อยซึ่งอาจทำให้ตายได้ ในปลาวัยนี้ให้เป็นไรทะเลหรือหนอนนกตัวเล็กๆ จะดีกว่า แต่ถ้าอยากให้ปลากินกุ้งฝอยก็ควรที่แกะหัวแกะหางให้เรียบร้อยจึงค่อยให้เพื่อป้องการ “กรีกุ้ง” หรือส่วนแหลมคมส่วนอื่นๆ ไปทำอันตรายปลาได้

ปลามังกร